7 ธนาคารใหญ่กำไร 6 หมื่นล้านโต 25% หุ้นกลุ่มนี้ยังน่าสนใจ-

กลุ่มธนาคารรายงานผลกำไรไตรมาส 1 ปี 2567 ฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี โดยกำไรของธนาคารขนาดใหญ่ 7 แห่ง (ประกอบด้วย BAY, BBL, KBANK, KKP, KTB, SCB, TTB) ทำกำไรรวมกันได้ 6.1 หมื่นล้านบาท ฟื้นตัวถึง 25% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งขยายตัวขึ้นหลังก่อนหน้านี้ ช่วงต้นปี 2566 ตลาดกังวลว่าปัจจัยลบ เช่น ดอกเบี้ยขาลง และมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่หมดอายุลง จะกดดันผลกำไรของกลุ่มในปีนี้คำพูดจาก สล็อต777

แต่แม้ว่ากำไรกลุ่มธนาคารจะออกสวยงาม แต่ถ้าถามถึงเรื่องของการลงทุนก็ยังมีความเสี่ยงที่ต้องให้ความสนใจอยู่เช่นกัน นายธนวัฒน์ รื่นบันเทิง หัวหน้านักวิเคราะห์หลักทรัพย์ผู้ลงทุนสถาบัน บล.ทิสโก้ มองว่า

ดอกเบี้ยขาลงและต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้น กดดัน NIM

ปัจจัยแรก คือ ดอกเบี้ยขาลงและต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้น กดดันส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin: NIM)

แม้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งล่าสุด (ณ วันที่ 10 เมษายน 2567) อย่างไรก็ดี ตลาดบางส่วนยังคงเชื่อว่า กนง. อาจจะตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงสักหนึ่งครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ ทั้งจากปัจจัยภายใน เช่น รายจ่ายภาครัฐต่ำ ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของงบประมาณแผ่นดินปี 2567 รวมถึงการบริโภคในประเทศที่อ่อนแอลง

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนที่สูง ทำให้เจ้าหนี้โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังในการปล่อยกู้ และปัจจัยภายนอก อาทิ ส่งออกยังติดลบต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง และสินค้าของประเทศไทยบางชนิดสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน หาก กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง กลุ่มธนาคารต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามมา ส่งผลกระทบต่อ NIM และกำไรของกลุ่มในท้ายที่สุด

นอกจากนี้ ต่อให้ กนง. ไม่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง NIM ก็มีแนวโน้มปรับลดลงอยู่ดี เนื่องจากในปัจจุบัน ยังมีเงินฝากประจำราว 2 ล้านล้านบาท ที่ยังได้รับอัตราดอกเบี้ยเก่าก่อนที่ กนง. จะจบรอบการขึ้นดอกเบี้ย พอเงินฝากประจำก้อนนี้หมดอายุลง ผู้ฝากเงินปกติก็จะฝากเงินต่อและจะได้รับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่สูงกว่าเดิม ดังนั้น ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายของธนาคารก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น NIM ของกลุ่มน่าจะปรับลดลงอย่างช้า ๆ ตลอดทั้งปี และอาจจะกดดันให้กำไรปรับลดลงในระยะต่อไป

หนี้เสียกระทบทุนสำรอง

ปัจจัยที่สอง คือ ปัญหาหนี้เสียในระบบที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งสำรองของกลุ่มแบงก์

แม้การตั้งสำรองกลุ่มในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 จะลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 2566 แต่เหตุผลหลักเกิดจากปัจจัยพิเศษ คือ การตั้งสำรองของบริษัทอิตาเลียนไทย ที่เกิดขึ้นในไตรมาสก่อนหน้า และไตรมาสนี้ไม่มีปัจจัยพิเศษอื่น ๆ อีก อย่างไรก็ดี หนี้เสียในระบบโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้ารายย่อยและ SME ยังปรับเพิ่มขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือของธปท.ที่หมดอายุ (เช่น การจ่ายขั้นต่ำของบัตรเครดิตปรับขึ้นจาก 5% เป็น 8%) แม้กลุ่มธนาคารยังตั้งสำรองไปบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่หากหนี้เสียยังเร่งขึ้นต่อเนื่อง การตั้งสำรองของกลุ่มอาจจะยังอยู่ในระดับสูงต่อไป

นอกจากนี้ อาจจะยังวางใจไม่ได้ว่าจะไม่มีบริษัทขนาดใหญ่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้เหมือนที่เกิดขึ้นกับกรณีบริษัทอิตาเลียนไทยอีก หันไปดูในอุตสาหกรรมผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็ยังเห็นผู้ประกอบการบางรายยังมีฐานะการเงินที่ค่อนข้างตึงตัว และหากมีบริษัทใหญ่ ๆ ล้มลงอีก ก็คงกระทบต่อการตั้งสำรองของกลุ่มแบงก์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทุ่มลงทุนค่าใช้จ่ายด้านไอทีรองรับโมบายแบงก์กิ้ง

ปัจจัยสุดท้าย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยเฉพาะทางด้านไอที กำไรที่ฟื้นตัวขึ้นในไตรมาสนี้หลัก ๆ เกิดจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านฤดูกาล (ปกติค่าใช้จ่ายประจำปีก้อนใหญ่มักตกลงในไตรมาสที่ 4)

อย่างไรก็ตาม หากลงไปดูในรายละเอียดจะพบว่า ค่าใช้จ่ายอาจจะปรับลดลงอีกได้ไม่มากนัก เช่น ในไตรมาสนี้ กลุ่มธนาคารพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายพนักงานอย่างเต็มกำลัง แต่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ยังปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปีก่อน สะท้อนว่า การควบคุมเป็นแค่การจำกัดจำนวนพนักงานใหม่และชะลอการปรับเงินเดือนประจำปีเท่านั้น ไม่สามารถลดจำนวนพนักงานหรือลดเงินเดือนพนักงานอย่างมีนัยสำคัญได้ และที่สำคัญที่สุด คือ ค่าใช้จ่ายด้านไอที

ปัจจุบันการทำธุรกรรมของธนาคารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มากขึ้น ทำให้กลุ่มธนาคารต้องลงทุนอย่างมากเพื่อให้รองรับธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นสูงมากในแต่ละวัน ปัจจุบันเงินลงทุนในส่วนนี้ของทั้งกลุ่มสูงถึง 4.6 หมื่นล้านบาท ในปีที่แล้ว หรือคิดเป็นราว 10% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถึงแม้จะสูง แต่คงไม่สามารถปรับลดลงได้ และอาจจะกดดันกำไรขั้นสุดท้ายในภาวะที่รายได้ของกลุ่มชะลอตัว

กลุ่มหุ้นปันผลที่น่าสนใจมากขึ้นในภาวะตลาดที่ผันผวนในปัจจุบัน

จากทั้งสามปัจจัยข้างต้น กำไรของกลุ่มแบงก์อาจจะยังโดนกดดันอยู่ในปีนี้ และอาจทำให้กำไรของกลุ่มอาจจะแค่ทรงตัวจากปีก่อนหน้าเท่านั้น เวลากำไรของบริษัทใด ๆ ก็ตามไม่ได้เติบโตขึ้น ราคาหุ้นก็จะมักสะท้อนไปในทางเดียวกัน คืออาจจะไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มธนาคารยังเป็นกลุ่มที่การลงทุนในหุ้นปันผลน่าสนใจมากขึ้นในภาวะตลาดที่ผันผวนในปัจจุบัน เพราะตลาดที่ปรับลดลง ทำให้สามารถซื้อหุ้นที่ถูกลงได้ และทำให้ผลตอบแทนปันผลของเราสูงขึ้นด้วย ซึ่งหุ้นธนาคารทุกตัวให้ปันผลทุกปีอยู่แล้ว

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงไทย ศึกเนชันส์ ลีก 2024 คืนวันศุกร์ที่ 17 พ.ค. 67 คำพูดจาก สล็อต777

สรุปผลวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024 หรือ VNL 2024 วันที่ 16-17 พ.ค. 67

6 ผักป้องกันไขมันพอกตับ กำจัดสารพิษ สรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งตับได้